เซลล์สัตว์
เซลล์สัตว์มีรูปร่างหลายลักษณะ เซลล์บางชนิดอาจมีรูปร่างกลมรี บางชนิดมีรูปร่างยาวเป็นเส้น หรือรูปร่างอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปค่อนข้างกลม ตรงกลางเว้าทั้งสองข้าง เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ คือ กลม รี หรือเป็นแฉก เซลล์กล้ามเนื้อเรียบมีรูปร่องเรียวยาว แหลมหัวแหลมท้าย เป็นต้น
เซลล์สัตว์มีรูปร่างหลายลักษณะ เซลล์บางชนิดอาจมีรูปร่างกลมรี บางชนิดมีรูปร่างยาวเป็นเส้น หรือรูปร่างอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปค่อนข้างกลม ตรงกลางเว้าทั้งสองข้าง เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ คือ กลม รี หรือเป็นแฉก เซลล์กล้ามเนื้อเรียบมีรูปร่องเรียวยาว แหลมหัวแหลมท้าย เป็นต้น
โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์
1. ผนังเซลล์ (cell wall) พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1665 โดยโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต
ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้
ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส
ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ
อยู่ล้อมรอบเซลล์ ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน
มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต
มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ
มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น น้ำ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรีย
กรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย
ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน
จึงเรียกเยื่อที่มีลักษณะแบบนี้ว่า เยื่อกึ่งซึมผ่านได้ (semipermeable
membrane หรือ selective permeable membrane)
3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีน้ำ
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ
ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม (metabolism)
ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร
เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้
4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์
นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์
ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่างๆ
ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด
เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากคลอโรพลาสต์
ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้นๆ อย่างมีระเบียบ
ภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll)
และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น